โพรไบโอติกส์(Probiotic) จุลินทรีย์ที่ดีที่จะช่วยปรับสมดุลให้ร่างกายและสภาพจิตใจให้แข็งแรง เพราะในทุกวันนี้ที่มีทั้งฝุ่นมลภาวะต่างๆ รวมไปถึงความเครียดความกดดันต่างๆ ล้วนกระทบต่อสุขภาพร่างกายทั้งสิ้น การได้รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ที่จะเสริมสร้างร่างกายให้สมดุล มีความแข็งแรงต่อโรคภัยต่างๆ ทั้งด้านร่างกาย และสภาวะจิตใจจึงเป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างมาก
โพรไบโอติกส์ (Probiotic) คืออะไรทำไมถึงสำคัญ?
โพรไบโอติกส์(Probiotic) คือ จุลินทรีย์ขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะในระบบทางเดินอาหารที่พบจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์มีความสำคัญเป็นจำนวนมาก เพราะมีหน้าที่ช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ชนิดที่เป็นโทษต่อร่างกายให้มีปริมาณที่เหมาะสม อีกทั้งยังช่วยให้การทำงานของระบบทางเดินอาหารดีขึ้น ทำให้สามารถดูดซึมสารอาหาร และวิตามินต่าง ๆ รวมไปถึงสร้างภูมิกันต่างๆให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดี นอกจากจะพบจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ได้ในระบบทางเดินอาหารแล้วก็ยังสามารถพบในส่วนอื่นๆ ของร่างกายด้วย เช่น ทางช่องปาก ผิวหนัง มดลูก ฯ
ชนิดของโพรไบโอติกส์สำคัญต่อร่างกาย
1.แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus)
เชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ที่สามารถเกาะอยู่ในผนังลำไส้ มีประโยชน์ที่ช่วยในเรื่องของระบบการขับถ่าย อีกทั้งยังส่งผลดีต่อผู้ที่ไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสที่อยู่ในนมได้ อาหารที่สามารถพบจุลินทรีย์แลคโตบาซิลลัสได้มากคือ นมเปรี้ยว โยเกิร์ต ของหมักดอง เป็นต้น
2.แซคคาโรไมซิส (Saccharomyces Boulardii)
เป็นยีสต์ชนิดหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มโพรไบโอติกส์ ซึ่งแซคคาโรไมซิสสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดท้องเนื่องมาจากอาการท้องเสีย และยังช่วยแก้ปัญหาที่เกิดจากระบบทางเดินอาหารได้เป็นอย่างดี
3.บิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium)
.บิฟิโดแบคทีเรียมมักพบได้อาหารที่มาจากนม เป็นจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ที่ช่วยในเรื่องของอาการลำไส้แปรปรวน ปรับสมดุลต่างๆในลำไส้ และยังสามารถผลิตสร้างตั้งต้นในการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายได้อีกด้วย
4.โพรไบโอติกส์ที่ใช้ในการแพทย์
โพรไบโอติกส์ที่นิยมใช้ในการแพทย์ เพื่อการรักษาและการค้นคว้าวิจัยต่างๆ เช่น Enterogermina – Bacillus clausii, Bacillus subtilis, Longum, B. Breve, B.infantis, Streptococcus thermophilus เป็นต้น
ประโยชน์ของโพรไบโอติกส์ต่อร่างกายและภาวะซึมเศร้า
1.ช่วยในระบบย่อยอาหารให้ทำงานดีขึ้นและลดความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่
จุลินทรีย์โพรไบโอติกส์สามารถบรรเทาได้ทั้งอาการท้องเสียและท้องผูก ที่อาจจะรบกวนการทำงานของระบบย่อยอาหารได้ อีกทั้งในกลุ่มจุลินทรีย์แลคโตบาซิลลัสสามารถลดอาการอักเสบของลำไส้ และปรับสมดุลของแบคทีเรียต่างๆ ไม่ให้มีจำนวนที่มากเกินไปเพราะอาจรวมตัวจนกันเกิดสารในกลุ่มไนโตรเจนและอะโรมาติคเอมีนในลำไส้ใหญ่ ที่เป็นสารก่อมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
2.ช่วยปรับสมดุลจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในร่างกายให้สมดุล
เพราะในร่างกายไม่ได้มีเพียงจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เพียงอย่างเดียว ยังมีจุลินทรีย์อื่นๆ อีกมากมายที่อาจเป็นโทษได้ และหากมีจุลินทรีย์ชนิดที่เป็นโทษต่อร่างกายมากเกินไปอาจก่อให้เกิดระบบย่อยอาหารที่ผิดปกติ มีภาวะความตึงเครียดและอาจจะลุกลามไปถึงเรื่องการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอได้ โพรไบโอติกส์สามารถปรับสมดุลจุลินทรีย์ต่างๆ ให้มีจำนวนที่เหมาะสม
3.ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย
โพรไบโอติกส์ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ดี อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของการลดอาการอักเสบและติดเชื้อต่างๆ ของร่างกายได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นลดอาการติดเชื้อในลำไส้ ลดอาการติดเชื้อในกระแสเลือด และยังช่วยลดอาการอักเสบที่ก่อให้เกิดอาการแพ้อย่างเช่น ผื่นคัน มีน้ำมูกจากภูมิแพ้ เป็นต้น
4.ช่วยควบคุมอาการซึมเศร้าและสารสื่อประสาทได้
สมองและระบบทางเดินอาหารที่เรียกว่า Gut-Brain Axis มีความเกี่ยวข้องกัน เพราะในลำไส้ใหญ่เป็นจุดตั้งต้นในการสร้างเซโรโทนินระบบประสาทมากมายในทางเดินอาหารที่ช่วยให้ส่วนต่างๆ ทำงานเป็นอิสระจากสมอง ในขณะเดียวกันก็ยังสื่อสารกับสมองได้โดยตรง โพรไบโอติกส์ที่อยู่ในลำไส้ที่ช่วยให้ลำไส้สมดุลและแข็งแรงนั้น จึงช่วยควบคุมอาการซึมเศร้าและการสื่อประสาทในลำไส้ให้ดีขึ้นตามไปด้วย
แหล่งอาหารที่มีไพรไบโอติกส์เป็นจำนวนมาก
1.นมเปรี้ยวและโยเกิร์ต
เป็นแหล่งอาหารที่อดุมไปด้วยโพรไบโอติกส์สายพันธุ์ที่มีประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหาร อย่างเช่น Bifidobacterium, Lactobacillus casei, Lactobacillus acidophilus เพราะนอกจากจะช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีแล้วยังช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และปรับสมดุลจุลินทรีย์ต่างๆ ภายในลำไส้
2.อาหารหมักดอง
ในขั้นตอนของการถนอมอาหารแบบหมักดองนี้มักจะก่อให้เกิดจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น ผักดอง น้ำสมสายชู ชาหมัก ชีส ฯ เมื่อรับประทานไปแล้วนอกจากจะได้จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์แล้วยังสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันจากเซลล์เม็ดเลือดขาวที่สร้างสารภูมิต้านทานชนิด IgA ได้
3.ดาร์คช็อกโกแลต
ในดาร์คช็อกโกแลตพบจุลินทรีย์แลคโตบาซิลัส (Lactobacillus) และไบฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) จึงช่วยปรับสมดุลในลำไส้และรบบทางเดินอาหารได้ และยังช่วยลดจุลินทรีย์ในกลุ่มคลอสทริเดียม (Clostridia) และสแตปฟิโลคอคคัส (Staphylococcus) ที่เป็นสาเหตุของอาการท้องร่วงเฉียบพลันได้
เนื่องจากโพรไบโอติกส์เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่มนุษย์ไม่สามารถสร้างขึ้นมาเองได้ อีกทั้งยังมีกิจกรรมและปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้โพรไบโอติกส์ลดจำนวนลงไปได้ไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ การรับประทานที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือการใช้ยาปฏิชีวนะบางประเภท ซึ่งส่งผลต่อทั้งทางร่างกายและสภาพจิตใจเป็นอย่างมาก จึงควรรับประทานอาหารที่มีโพรไบโอติกส์อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
ขอบคุณรูปภาพจาก
อ่านต่อที่ 7 อาหารเพื่อสุขภาพ อาหารคลีน เมนูไข่ ทําเองง่าย เอาใจคนรักสุขภาพ