อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต กินอะไรได้บ้าง
สำหรับคนที่เป็นโรคไตนั้น แม้ว่าต้องควบคุมอาหาร แต่ก็สามารถเลือกรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายได้รับโภชนาการที่ดี และมีสุขภาพที่ดี ไปดูกันว่า อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต กินอะไรได้บ้าง ควรรับประทานอย่างไร อร่อยได้แม้คุมอาหาร ไปดูกันเลย
1. ความสำคัญของอาหารกับผู้ป่วยโรคไต
โดยทั่วไปในร่างกายของคนเรานั้นเมื่อรับประทานอาหารหรืออะไรเข้าไปแล้ว ส่วนที่เป็นของเสียจะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ แล้วหน้าที่ในการขับของเสียต่าง ๆ นั้นก็คือ ไต แต่ถ้าหากไตไม่สามารถที่จะขับของเสียออกมาได้จึงทำให้ไตของเรามีภาวะเสื่อมและถึงขั้นเรื้อรังและอาจเป็นไตวายได้ในที่สุด ดังนั้น อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต กินอะไรได้บ้าง นั้นจึงมีความสำคัญ เพราะผู้ป่วยโรคไต จะมีความสามารถในการขับของเสียออกมาได้น้อย การรับประทานอาหารที่เพียงพอและเหมาะสม จะช่วยให้ผู้ป่วยไตมีอาการไม่ทรุดเร็ว ทำให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพ มีสุขภาพที่แข็งแรง ไตก็จะไม่เสื่อมเร็วนั่นเอง
2. การควบคุมอาหารกับผู้ป่วยโรคไต
ก่อนที่เราจะไปดูว่าอาหารของผู้ป่วยโรคไต กินอะไรได้บ้าง ควรรับประทานอย่างไร อร่อยได้แม้คุมอาหาร นั้นเรามาดูกันก่อนว่าเหตุผลใดที่ต้องควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต เนื่องจากคนที่เป็นโรคไตนั้นก็คือ ไตทำงานได้ไม่ดี ขับของเสียออกจากร่างกายได้น้อย เนื่องจากที่ผ่านมาไม่ได้มีการควบคุมหรือดูแลเรื่องอาหารการกินให้มีโภชนาการที่ดีต่อร่างกายนั่นเอง จึงทำให้ไตทำงานอย่างหนักเกิดภาวะเสื่อม ดังนั้นจึงต้องหันมาควบคุมอาหารเพื่อที่จะช่วยให้ไตของผู้ป่วยทำงานได้ดีขับของเสียออกมาได้ดียิ่งขึ้น หากไม่มีการควบคุมอาหารก็จะทำให้ไตทำงานหนัก ของเสียก็จะไปค้างที่ไตส่งผลให้อาจเกิดการช็อค และมีโรคแทรกซ้อนตามมาอีกได้ และสุดท้ายก็จะส่งผลให้เกิดไตวายเรื้อรังและถึงขั้นสูญเสียชีวิตที่เร็วขึ้นนั้นเอง ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลที่ผู้ป่วยโรคไตต้องมีการควบคุมอาหาร
3. อาหารที่ควรเลี่ยงสำหรับผู้ป่วยโรคไต
ก่อนที่จะไปดูว่า อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต กินอะไรได้บ้าง รับประทานอย่างไร อร่อยได้แม้คุมอาหาร เราไปดูอาหารที่ควรเลี่ยงสำหรับผู้ป่วยไตกันก่อนว่ามีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตควรงดหรือเลี่ยง ดังนี้
1.อาหารที่มีรสเค็มหรือมีโซเดียมสูง เช่น อาหารที่ปรุงสำเร็จรูป และเครื่องปรุงรสต่าง ๆ จำพวกน้ำปลา น้ำมันหอย ซอสมะเขือเทศ และซอสพริก เป็นต้น
2.อาหารประเภทหมักดอง ไม่ว่าจะเป็นไข่เค็ม ปลาร้า ปลาทูเค็ม ผักกาดดอง เป็นต้น
3.อาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น นมถั่วเหลือง เครื่องในสัตว์ ถั่วและธัญพืช และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เป็นต้น
4.อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น น้ำมะพร้าว ผักใบเขียวที่มีสีเข้ม ทุเรียน มะเขือเทศ เป็นต้น
5.เนื้อสัตว์ที่แปรูป เช่น กุนเชียง แหนม ไส้กรอก แฮม หมูยอ เป็นต้น
อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง หรือคอเรสเตอรอลสูง เช่น กะทิ เครื่องในสัตว์ ไข่แดง เป็นต้น
6.อาหารที่มีส่วนประกอบของเนยและครีม ซึ่งมักจะพบในอาหารที่เป็นของหวาน เช่น เบเกอรี่ต่าง ๆ ครัวซอง พิซซ่า และขนมไทยที่มีกะทิเป็นส่วนผสม เป็นต้น
7.เนื้อสัตว์ที่ติดมันและหนังสัตว์ เช่น มันสามชั้น หนังไก่ทอด เอ็นไก่และหมู เป็นต้น
4. อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตระยะที่ 1-3
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตระยะที่ 1-3 นั้น คือระยะที่ไตของผู้ป่วยยังสามารถทำงานได้ สามารถจะขับของเสียออกจากร่างกายได้บ้างแต่ไม่มาก ยังไม่ถึงขั้นต้องฟอกเลือดหรือฟอกไต อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต กินอะไรได้บ้าง ควรรับประทานอย่างไร อร่อยได้แม้คุมอาหาร ไปดูกันว่าอาหารสำหรับผู้ป่วยในระยะนี้ควรเป็นอย่างไร ผู้ป่วยสามารถที่จะรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และควรได้รับสารอาหารที่เหมาะสมในแต่ละวัน ซึ่ง และลดการทานอาหารจำพวกโปรตีนให้น้อยลง และโปรตีนนั้นต้องเลือกรับประทานโปรตีนที่มีคุณภาพสูงไม่ว่าจะเป็นโปรตีนที่มีกรดอะมิโจจำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งก็มักจะพบใน เนื้อปลา เนื้อหมูที่ไม่ติดมัน อกไก่ที่ไม่มีหนัง ไข่ขาว เป็นต้น ในส่วนของไขมัน เลือกทานน้ำมันที่มีไขมันไม่อิ่มตัว คือ น้ำมันรำข้าว น้ำมันจากดอกทานตะวัน น้ำมันจากน้ำมันมะกอกและคาร์โบไฮเดรต ให้เป็นแป้งที่ไม่มีโปรตีน เช่น วุ้นเส้น ข้าวขาวล้วน เป็นต้น ส่วนโพแทสเซียมนั้นจำกัดเพียง 2000-300 มก./ วัน สำหรับผักใบเขียวหรือที่มีสีเข้ม ก็ให้นำมาลวกก่อนรับประทานเพื่อช่วยลดโพแทสเซียมลงได้ และโซเดียม ต้องไม่เกิน 2000 มก./วันและควรดื่มน้ำสะอาดให้มีปริมาณที่เท่ากับการปัสสาวะต่อวันบวกเพิ่มไปอีก 500มิลลิลิตร
5. อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตระยะที่ 4-5
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตระยะที่ 4-5 นั้น คือระยะที่ไตของผู้ป่วยไม่สามารถทำงานได้เองแล้ว เป็นไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ต้องบำบัดการทำงานของไตด้วยวิธีการฟอกไต อาหารสำหรับผู้ป่วย โรคไต กินอะไรได้บ้าง ควรรับประทานอย่างไร ไปดูกันว่าอาหารสำหรับผู้ป่วยในระยะนี้ควรเป็นอย่างไร ผู้ป่วยสามารถที่จะรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และควรได้รับสารอาหารที่เหมาะสมในแต่ละวัน ซึ่งผู้ป่วยในระยะนี้จำเป็นต้องได้รับอาหารจำพวกโปรตีนในปริมาณที่มากกว่าคนทั่วไปในจำนวนที่มากเพื่อจะไปช่วยเสริมสร้างร่ายและที่สึกหรอและไขมันก็สิ่งที่มีความจำเป็น แต่ควรเลี่ยงอาหารที่มีคอเรสเตอรอลหรือไขมันอิ่มตัวสูง และต้องการอาหารที่มีพลังงานที่เพียงพอในแต่ละวันตลอดจนเกลือแร่และวิตามินที่เพียงพอในแต่ละวัน และการดื่มน้ำสะอาดที่เท่ากับปริมาณปัสสาวะต่อวันโดยบวกเพิ่มไปอีก 500-700 มิลลิลิตร
6. หลักโภชนาการดี ๆ สำหรับผู้ป่วยโรคไต
อาหารสำหรับผู้ป่วย โรคไต กินอะไรได้บ้าง ควรรับประทานอย่างไร อร่อยได้แม้คุมอาหาร ซึ่งการรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการและได้รับสารอาหารที่เพียงพอในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และรับประทานอาหารที่ให้พลังงานที่เพียงพอต่อร่างกาย ลดอาหารที่มีรสจัด รสหวาน รสมันและรสเค็มและหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นของหมักของดองและอาหารกระป๋องหรืออาหารที่แปรรูปจากเนื้อสัตว์ตลอดจนรับประทานอาหารที่มีฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และโซเดียมให้น้อยลง ก็จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและมีสุขภาพที่ดีขึ้น
7. เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต
อาหารสำหรับผู้ป่วย โรคไต กินอะไรได้บ้าง ควรรับประทานอย่างไร อร่อยได้แม้คุมอาหารสำหรับเมนูที่ให้ผู้ป่วยโรคไตได้รับประทานก็มีหลากหลายเมนูด้วยกัน ซึ่งแต่ละเมนูนั้นควรต้องลดในเรื่องของการปรุงรสให้มีรสชาติที่ไม่เป็นรสจัด หรือรสเค็ม ไปดูกันว่ามีเมนูอะไรกันบ้าง อันดับแรกนั้นก็คือ เมนูข้าวต้ม และโจ๊ก ซึ่งเป็นเมนูที่ทำง่าย ๆ อาจจะเพิ่มไข่ หรือเนื้อสัตว์ที่ไม่มีมันเข้าไปเพิ่มหรือกุ้ง หรือปลา ก็จะช่วยเพิ่มรสชาติและหน้าตาให้น่ารับประทานยิ่งขึ้นอีกหนึ่งเมนูนั่นก็คือ เมนูประเภทปลา ไม่ว่าจะเป็นการนึ่ง ทอด หรือต้ม อีกหนึ่งเมนูคือ ผัดบวบใส่ไข่ เมนูนี้ก็ทำได้ง่าย ๆ แต่ก็อร่อย และตามด้วยเมนู ต้มฟักไส่ไก่ และอีกหลาย ๆ เมนูที่ไม่น่าเบื่อก็คือ อกไก่ผัดขิง แกงส้มผักรวม ต้มจืดตำลึง ต้มจืดวุ้นเส้น หรือต้มจืดผักกาดขาว ผัดถั่วงอก ผัดเต้าหู้ และผัดกระเพราไก่ไม่ใส่ถั่วฝักยาว ซึ่งแต่ละเมนูนั้นจะเป็นเมนูอาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคไต และก็สามารถที่จะปรุงรสให้อร่อยได้เช่นกัน
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต กินอะไรได้บ้าง ควรรับประทานอย่างไร ซึ่งหากเป็นผู้ป่วยก็ต้องเลือกที่จะรับประทานอาหารอร่อยได้แม้คุมอาหาร เพราะก็มีหลากหลายเมนูที่จะช่วยให้การรับประทานอาหารในแต่ละมื้อนั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจ แต่อาหารที่ดีสำหรับผู้ป่วยคือต้องลดหวาน ลดมัน และลดเค็ม และจำพวกของหมักของดอง เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้ไตของเราได้ทำงานดีขึ้น แต่เราก็ควรจะดูแลร่างกายของเราให้มีสุขภาพดี โดยการกินอาหารที่มีคุณประโยชน์และมีคุณค่าทางโภชนาการเพื่อจะได้ไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ
เครดิตรูป
อ่านต่อที่ ธัญพืช