อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
สำหรับใครที่ต้องการรู้ว่าโรคเก๊าท์เป็นอย่างไร และมีสาเหตุมาจากอะไร และลักษณะของอาการเป็นอย่างไรนั้น และการดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคเก๊าท์ ตลอดจนอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ ผักที่คนเป็นเก๊าท์ทานได้ กินดี โรคไม่กำเริบนั้นมีอะไรบ้าง อยู่ในบทความนี้แล้ว ไปดูกันเลย
1. ทำความรู้จักกับโรคเก๊าท์
ก่อนที่เราจะไปดูอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ ผักที่คนเป็นเก๊าท์ทานได้ กินดี โรคไม่กำเริบนั้น เราไปทำความรู้จักกับโรคเก๊าท์กันก่อนเลย และหลาย ๆ คนก็คงจะรู้จักโรคนี้ดี เพราะอาจจะมีญาติพี่น้องหรือเพื่อนหรือคนใกล้ชิดหรือพ่อแม่กำลังเป็นโรคนี้อยู่ หรืออาจจะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ ซึ่งโรคเก๊าท์นี้ คือ โรคข้ออักเสบ ที่เกิดจากร่างกายของเรามีกรดยูริคในเลือดสูง ซึ่งกรดยูริคนี้สร้างมาจากสารพิวรีน โดยสารพิวรีนนี้ปกติร่างกายสามารถสร้างขึ้นมาเองได้และยังได้มาจากอาหารที่เรารับประทานไปในแต่ละวันอีกด้วย และกรรมพันธุ์ก็มีส่วนที่จะทำให้เกิดโรคนี้ได้เช่นกัน และหากมีกรดยูริคในเลือดสูงก็จะทำให้เกิดการสะสมเป็นจำนวนมาก โดยอาจสะสมตามข้อต่าง ๆ ในร่างกาย ทำให้เกิดการอักเสบ ไม่ว่าจะเป็นข้อเท้า หัวเขา ข้อแขนเป็นต้น และโรคนี้ยังอาจเป็นโรคแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นได้ของโรคอ้วน โรคไขมันในเลือดสูง
หรือโรคไต เบาหวานได้อีกด้วย โดยส่วนใหญ่โรคเก๊าท์จะเกิดในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
2. สาเหตุของการเกิดโรคเก๊าท์
ก่อนที่เราจะไปดูอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ ผักที่คนเป็นเก๊าท์ทานได้ กินดี โรคไม่กำเริบ เราไปดูว่าโรคเก๊าท์นั้นมีสาเหตุเกิดจากอะไรกันบ้าง ซึ่งมีหลายสาเหตุด้วยกัน ก็คือ เนื่องจากมีกรรมพันธุ์ที่ทำให้ร่างกายของคนเรามีการสังเคราะห์กรดยูริคในปริมาณที่มากขึ้น
และ กินอาหารที่มีสารพิวรีนมากเกินไป หรืออาจจะกินอาหารที่มีไขมันมากเกินไป แม้กระทั่งการดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มาก นอกจากจะไปช่วยเร่งปฏิกิริยาในการสร้างกรดยูริคแล้วยังขวางกระบวนการขับกรดยูริคออกจากร่างกายอีกด้วย และอีกสาเหตุหนึ่งก็คือ คนที่เป็นโรคอ้วน หรือโรคไต โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดสูงนี้ก็เสี่ยงต่อการเป็นโรคเก๊าท์ได้เช่นกัน และอีกหนึ่งสาเหตุอาจเกิดจากความเครียดหลังการผ่าตัด หรือบาดเจ็บ ซึ่งก็ทำให้เกิดกรดยูริคในเลือดสูงเช่นกัน และในการรับประทานยาบางชนิด เช่นยาลดความดันโลหิตสูง หรือยาตัวอื่น ๆ ก็สามารถที่จะทำให้เกิดกรดยูริคในเลือดสูงได้
3. ลักษณะอาการของโรคเก๊าท์
ก่อนที่เราจะไปดูอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ ผักที่คนเป็นเก๊าท์ทานได้ กินดี โรคไม่กำเริบ เราไปดูว่าลักษณะอาการของโรคเก๊าท์เป็นอย่างไร เนื่องจากโรคเก๊าท์เป็นโรคข้ออักเสบ จึงทำให้อาการที่ออกมามีลักษณะอาการบวม และปวดตามบริเวณข้อต่าง ๆ ของร่างกายโดยส่วนใหญ่มักจะพบที่หัวแม่เท้า ข้อเท้า และหัวเข่า และบริเวณที่เป็นข้อต่าง ๆ ตามร่างกาย ซึ่งมักจะทำให้มีอาการปวดและบวมแบบเป็น ๆ หาย ๆ และมีอาการปวดและบวมเรื้อรัง และอาการที่จะตามมาก็คือ ปวดเอว ปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อและเป็นนิ่ว และบางรายอาจมีปุ่มเป็นปม ๆ ขึ้นที่ข้อศอกหรือบริเวณอื่น ๆ ที่ใกล้ข้อต่าง ๆ ในร่างกาย
4. การดูแลตัวเองสำหรับผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์
ก่อนที่เราจะไปดูอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ ผักที่คนเป็นเก๊าท์ทานได้ กินดี โรคไม่กำเริบ เราไปดูในเรื่องการดูแลตัวเองสำหรับผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์กันก่อน อันดับแรกเลยก็คือต้องทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่กังวลและเครียดกับโรคที่เป็นอยู่ หมั่นออกกลังกายให้สม่ำเสมอโดยไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายอย่างหักโหม และควรจะต้องดื่มน้ำสะอาดให้มากในแต่ละวัน งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และเลือกรับประทานอาหารที่มีพิวรีนน้อย หรือปานกลาง และดูแลเรื่องน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และควรรับประทานยาตามที่แทพย์สั่ง และไปพบแพทย์ตามนัดอย่างต่อเนื่อง
5. การดูแลเรื่องด้านอาหารสำหรับผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์
การดูแลตนเองในเรื่องของอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ นั้นมีความสำคัญและจำเป็น เพราะ การดูแลตนเองในด้านอาหารจะส่งผลต่อโรคเก๊าท์ ผักที่คนเป็นเก๊าท์ทานได้ กินดี ก็จะช่วยให้โรคไม่กำเริบ ดังนั้นการดูแลตัวเองด้านอาหารจึงจำเป็นสำหรับผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์ ควรดูแลตนเองด้านอาหารให้มากขึ้น โดยการรับประทานอาหารผักผลไม้ให้มากขึ้น โดยเฉพาะผักในส่วนที่โตเต็มวัย หากเป็นยอดอ่อนควรเลี่ยง และควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ดื่มน้ำสะอาดให้มากขึ้น อย่างน้อยวันละ 3 ลิตรขึ้นไป เพื่อจะช่วยในการขับยูริคออกมาทางปัสสาวะมากขึ้น รับประทานอาหารที่เป็นเต้าหู้ ซึ่งรับประทานได้ทุกวันยิ่งดีเพราะเต้าหู้จะช่วยในการขับยูริคออกมานั่นเอง เลือกรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนน้อย
6. อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ ผักที่คนเป็นเก๊าท์ทานได้ กินดี โรคไม่กำเริบ สำหรับผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์การเลือกรับประทานอาหารในแต่ละวันนั้นมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อไม่ให้โรคเก๊าท์กำเริบ อย่างน้อยก็ไม่ทำให้มีอาการปวดและบวม ก็คือการเลือกรับประทานอาหารที่มีพิวรีนน้อยนั่นเอง ซึ่งกลุ่มอาหารที่มีพิวรีนน้อยหรือรับประทานได้ตามปกตินั้นก็คือ ข้าวทุกชนิด ยกเว้น ข้าวโอ๊ต ถั่วงอก ผักค้าน้า และผลไม้ชนิดต่าง ๆ รวมไปถึงไข่ ไขมันจากพืชและสัตว์และจำพวกนมสด เนย ขนมปัง หรือขนมหวานต่าง ๆ และน้ำตาล
ส่วนอาหารที่มีพิวรีนปานกลางก็สามารถรับประทานได้ แต่ควรลดปริมาณในการรับประทานหรือทานให้น้อยลง นั้นก็คือ ข้าวโอ๊ต เนื้อสัตว์ทุกชนิด ปลาทุกชนิด อาหารทะเล ตลอดจนผักบางชนิด เช่นหน่อไม้ ดอกกระหล่ำ สะตอ ใบขี้เหล็ก หน่อไม้ฝรั่ง ผักโขม และ
ถั่วลิสง ถั่วลันเตา เบียร์และเหล้า ไวน์ ซึ่งหากลดอาหารจำพวกนี้ได้ก็จะช่วยให้โรคเก๊าท์ไม่กำเริบนั่นเอง
7. อาหารที่ควรงดสำหรับผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์
สำหรับคนที่เป็นโรคเก๊าท์แล้วไม่อยากมีอาการกำเริบ ควรต้องงดอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ ซึ่งเป็นอาหารที่มีพิวรีนสูงนั่นเอง นั่นก็คือเครื่องในสัตว์ทุกชนิด สัตว์ปีกทุกชนิด น้ำสะกัดเนื้อ ซุปก้อน หากเป็นประเภทผักได้แก่ ผักชะอม กระถิน เห็ด ปลาดุก กุ้ง หอย ปลาอินทรีย์ ปลาไส้ตัน ปลาซารดี ไข่ปลา น้ำเกรวี กะปิ ยีสต์ ประเภทถั่วได้แก่ ถั่วแดง ถั่วดำ ถั่วเหลืองและถั่วเขียวของหมักของดองทุกชนิด และอาหารที่มีมันมาก ของทอดทุกชนิด เนื้อสัตว์ที่ติดมัน ซึ่งอาหารที่มีพิวรีนสูงจะทำให้เกิดอาการบวมและปวดมากขึ้นสำหรับคนที่เป็นโรคเก๊าท์ หากงดได้ให้งดไปเลย แต่งดไม่ได้ก็กินแต่น้อยแต่ก็ต้องทนปวดและบวมของอาการไว้ด้วย
สำหรับใครที่เป็นโรคเก๊าท์หรือใครที่มีญาติพี่น้องหรือคนใกล้ชิดเพื่อนสนิทที่เป็นโรคเก๊าท์ จำเป็นต้องดูแลตัวเองทั้งในเรื่องของ อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ ผักที่คนเป็นเก๊าท์ทานได้ กินดี โรคไม่กำเริบ และการปฏิบัติตนเองในช่วงเวลาที่เป็นโรคเก๊าท์ จึงคิดว่าบทความนี้คงจะเป็นประโยชน์กับหลาย ๆ ที่เข้ามาชม และขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคนได้หายจากอาการที่เป็นโรคในเร็ว ๆ วัน
เครดิตรูป
อ่านต่อที่ โภชนาการ